polygon

สำหรับกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารทางภาคเหนือของประเทศไทย โดยเป็นโครงการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ชื่อว่า Lahu Next – Better and Sustainable

 

เป้าหมายและวัตถุประสงค์

ลาหู่เป็นชนกลุ่มน้อยจากจีนและทิเบต ปัจจุบันอาศัยอยู่ตามภูเขาทางภาคเหนือของประเทศไทยและบริเวณชายแดนเมียนมาร์ ลาว และจีน ลาหู่ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และเชียงราย แบ่งออกเป็น 4 เผ่า ได้แก่ ลาหู่ดำ ลาหู่เหลือง ลาหู่แดง และชีเล โดยชื่อเผ่าตั้งขึ้นตามลักษณะเสื้อผ้าดั้งเดิมของพวกเขาโดยชาวลาหู่ดำจะสวมเสื้อคลุมสีดำมีแถบสีครีม แขนเสื้อสีแดงเข้มและสีเหลือง

 

ชาวลาหู่ดำอาศัยอยู่ในหมู่บ้านหลายแห่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอนทางภาคเหนือของประเทศไทย เช่น บ้านจ่าโบ่ บ้านผาเผือก บ้านห้วยเฮี๊ยะ เป็นต้น โดยหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักทั่วไป คือ บ้านจ่าโบ่ที่มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม โดยเฉพาะทะเลหมอกที่เหมาะแก่การถ่ายภาพยามเช้า และมีโฮมสเตย์หลายแห่งเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ บ้านาจ่าโบ่จึงกลายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวประจำจังหวัด

 

ส่วนบ้านผาเผือกประกอบด้วยบ้าน 100 ครัวเรือน ประกอบด้วยผู้ใหญ่ 150 คน เด็ก 30 คน ชาวบ้านเป็นเกษตรกรปลูกถั่วแดงและข้าวโพดเป็นส่วนใหญ่ ในทางเศรษฐกิจ รายได้หลักของชาวบ้านเหล่านี้มาจากการขายถั่วแดงปีละครั้งเท่านั้น ซึ่งราคาขายที่พ่อค้าคนกลางกำหนดก็เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตไม่น้อย นอกจากนี้ เกษตรกรจำนวนหนึ่งยังป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ระหว่างบ้านจ่าโบ่และบ้านห้วยเฮี๊ยะ โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ค่อนข้างลำบากในการหาแหล่งน้ำธรรมชาติบนภูเขา แม้จะมีน้ำใช้บ้างแต่ไม่เพียงพอต่อการบริโภคและทำการเกษตร

 

ด้วยข้อจำกัดและความจำเป็นดังกล่าว แปซิฟิค เฮลธ์แคร์ จึงพิจารณาจัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีในระยะยาวของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ดำที่บ้านผาเผือกเป็นเวลา 6 ปี นับตั้งแต่ปี 2564 ภายใต้แนวคิด “Lahu Next” better and sustainable โดยมีเป้าหมายสูงสุดที่การมีสุขภาพที่ดี ความเป็นอยู่ที่ดี และความเท่าเทียมกัน


 

2564

  1. แปซิฟิค เฮลธ์แคร์ ร่วมมือกับกลุ่มวัยรุ่นแกนนำในหมู่บ้าน กลุ่มแพทย์ชนบท (นพ.สุพัฒน์ ใจงาม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขุนยวม แม่ฮ่องสอน ประเทศไทย) และอาสาสมัครในพื้นที่ นำสิ่งจำเป็นทางการแพทย์จากการตรวจวินิจฉัยไปแจกจ่ายและบริจาคยาที่จำเป็นแก่ชุมชน
  2. แปซิฟิค เฮลธ์แคร์ จัดงาน "Virtual Garage Sales for Children Well-Being" เพื่อจำหน่ายของมือสองสภาพดีที่ได้รับบริจาคจากผู้บริหาร พนักงาน และผู้สนใจ โดยสรุปยอดจำหน่ายที่ 30,000 บาท ซึ่งนำไปปรับปรุงศูนย์เลี้ยงเด็กบ้านผาเผือก ลาหู่ เพื่อดูแลเด็กเล็กที่พ่อแม่ต้องทำงานในช่วงกลางวัน
  3. แปซิฟิค เฮลธ์แคร์ แนะนำและฝึกอบรมครูชนบทในท้องถิ่นด้วยเครื่องมือการสอนแบบใหม่ที่ช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาของเด็ก ตลอดจนมอบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์กีฬาให้กับโรงเรียน
  4. แปซิฟิค เฮลธ์แคร์ ให้ความรู้ชาวบ้านในชุมชนเรื่องการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี เพื่อไม่เพิ่มขยะในธรรมชาติ และอบรมเกี่ยวกับการตลาดเพื่อสังคม อันเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ดำและแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้ในท้องถิ่น


 

2565

แปซิฟิค เฮลธ์แคร์ มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยจัดหาสิ่งจำเป็นพื้นฐาน เช่น การนำสิ่งจำเป็นทางการแพทย์ ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยจนถึงการจ่ายยา การบริจาคยา การแบ่งปันเครื่องมือการสอนและความรู้ใหม่ ๆ แก่ครูชนบท และจัดหาองค์ความรู้ด้านการตลาดดิจิทัลขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและสินค้าหัตถกรรม

 

ความพยายามนี้จะช่วยยกระดับความเป็นอยู่และความเท่าเทียมกันของชาวบ้านอย่างยั่งยืน ในเชิงเศรษฐกิจ น้ำที่เพียงพอถือเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่จะสร้างโอกาสให้กับหมู่บ้านแห่งนี้ โดยเฉพาะการริเริ่มการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เนื่องจากหมู่บ้านแห่งนี้แวดล้อมไปด้วยทิวทัศน์ที่สวยงามและสถานที่ท่องเที่ยว

02

img-02.jpg
icon-healthcare.svg
polygon